Home พื้นฐาน กฎพื้นฐาน : 10 ข้อสำคัญ การจัดการสารเคมี อย่างปลอดภัย

กฎพื้นฐาน : 10 ข้อสำคัญ การจัดการสารเคมี อย่างปลอดภัย

by admin
352 views
การจัดการสารเคมี

การจัดการสารเคมี อย่างปลอดภัย คืออะไรบ้าง

การจัดการสารเคมี คือสิ่งที่ควรตระหนักเป็นอย่างมากในการทำงานกับสารเคมี ผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมี และ วัตถุอันตรายของมนุษย์ มีตั้งแต่การระคายเคืองผิวหนังไปจนถึงการเจ็บป่วยในระยะยาว เช่น มะเร็ง การตระหนักถึงอันตรายที่มีอยู่เป็นสิ่งสำคัญ ต้องสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการจัดการการขนส่งและจัดเก็บสารเคมีอันตรายประเภทต่างๆ ให้พนักงานทุกคนที่รับผิดชอบในการจัดการสารเคมี

ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกำหนดที่สร้างขึ้นอย่างเคร่งครัด และผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสม แต่นั่นยังไม่เพียงพอในการรับผิดชอบของบริษัทในการจัดการสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการจัดการสารเคมีอันตรายอย่างปลอดภัยต้องกระตุ้นให้พนักงานของคุณเป็นเจ้าของในการสร้างและรักษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย

 

10-ข้อสำคัญ-การจัดการสารเคมี

กฎ 10 ข้อเหล่านี้ซึ่งจะช่วยให้ การจัดการสารเคมี ได้อย่างปลอดภัย 

  1. ประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ในที่ทำงาน 

การประเมินความเสี่ยงจะช่วยให้รู้ว่าในการทำงานกับสารเคมีนั้นมีอันตรายอะไรอยู่บ้าง ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดมาตรการป้องกันได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งหัวข้อในการประเมินความเสี่ยง เช่น

  • ขั้นตอนการทำงานกับสารเคมี
  • อันตรายที่อาจเกิดขึ้น
  • มาตรการป้องกันและแก้ไข
  1. ให้พนักงานได้รับการฝึกอบรมและได้รับข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายในที่ทำงาน

การฝึกอบรมเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายให้กับผู้ปฏิบัติงานเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัย และการให้ข้อมูลด้านความปลอดภัยของสารเคมีชนิดนั้นๆ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน โดยข้อมูลที่พนักงานต้องรู้ได้แก่ เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (Safety Data Sheet : SDS)

  1. พิจารณาอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและวางแผนล่วงหน้า

การพิจารณาอันตรายที่อาจเกิดขึ้นและการวางแผนล่วงหน้า ช่วยให้สามารถเตรียมการและขั้นตอนในการจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นจากการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายหรือการสัมผัสสารเหล่านั้น ซึ่งหมายถึงการทำให้แน่ใจว่าพนักงานเข้าใจขั้นตอนฉุกเฉินรวมถึงการอพยพ การเก็บกวาด หรือสิ่งที่ต้องทำในกรณีเกิดอัคคีภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงอุปกรณ์ฉุกเฉิน เช่น อ่างล้างตาและฝักบัวฉุกเฉิน ได้รับการรักษาความสะอาดและได้รับการทดสอบเป็นประจำ ฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับทักษะการปฐมพยาบาลและวิธีการตอบสนองต่อเพื่อนร่วมงานที่อาจได้รับบาดเจ็บหรือสัมผัสสารเคมีในที่ทำงาน 

Chemicals-PPE

  1. ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสมเสมอ

การทำงานกับสารเคมี จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล PPE ที่เหมาะสม และควรเปลี่ยน PPE ที่เก่าหรือชำรุด และต้องตรวจสอบก่อนใช้งานทุกครั้งว่าอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานหรือไม่ ควรใช้มาตรการควบคุมที่เหมาะสม เช่น การระบายอากาศและการตรวจสอบเป็นประจำ 

  1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการติดฉลากสารเคมีอันตรายทั้งหมดอย่างถูกต้อง 

ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าสารเคมีอันตรายทั้งหมดมีการติดฉลากอย่างถูกต้อง ตรวจสอบภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายทั้งหมดว่าได้รับการติดฉลากอย่างเหมาะสมเพียงพอและเก็บสารเคมีทั้งหมดไว้ในภาชนะที่เหมาะสม 

  1. เก็บสารเคมีอันตรายทั้งหมดไว้อย่างถูกต้อง

การจัดเก็บสารเคมีทั้งหมดต้องเก็บไว้ในที่แห้ง เย็น และมีอากาศถ่ายเทได้ดี มีการแยกจากวัสดุที่เข้ากันไม่ได้ ปิดฝาให้สนิทอยู่เสมอ ป้องกันการรั่วซึมและไอระเหยจากภาชนะบรรจุสารเคมีอันตรายทั้งหมด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นที่จัดเก็บเหล่านี้ปราศจากสิ่งที่อาจทำให้เกิดการสะดุด หกล้ม หรือหก และปราศจากวัสดุที่อาจกระตุ้นให้สัตว์รบกวนหรือสัตว์ฟันแท้เข้ามาในพื้นที่การจัดเก็บสารเคมีได้ รักษาพื้นที่ทำงานให้สะอาดอยู่เสมอ ควรทำความสะอาดพื้นผิวการทำงานบ่อยๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนหรือการสัมผัสสารที่หก 

    1. ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายตามวัตถุประสงค์เท่านั้น 

    2. ห้ามกินหรือดื่มขณะจับต้องสารเคมีอันตรายและล้างมือทุกครั้งหลังใช้ หยิบจับ หรือขนส่งสารเคมีอันตราย

      สารกัดกร่อน

    3. พนักงานที่ทำงานกับสารเคมีอันตรายควรอ่านฉลากเสมอ

พนักงานที่ทำงานกับสารเคมีอันตรายต้องอ่านฉลากก่อนการทำงานเสมอ เพื่อทำความเข้าใจว่าพวกเขากำลังทำงานกับอะไรอยู่และเข้าถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีก่อนใช้สารเคมีอันตรายเพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการจัดการกับการหกหรือการสัมผัสสารเคมีเหล่านั้น 

      1. รายงานปัญหาให้หัวหน้างานทราบ

หากสงสัยหรือพบว่าภาชนะบรรจุเสียหายหรือรั่ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตรายได้ ให้รีบแจ้งหัวหน้างานทราบทันที ถึงแม้ว่าความสงสัยนั้นจะไม่เป็นจริงก็ตาม ให้นึกไว้เสมอว่าปลอดภัยไว้ก่อนย่อมดีกว่าเสมอ 

สรุป

ในการดูแลสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งหากมีการดำเนินการ 10 ข้อด้านบน อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากสารเคมีย่อมลดลงเสมอ ซึ่งเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องคอยเน้นย้ำกับผู้ปฏิบัติงานอยู่เสมอว่าให้ทำตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด และหากพบเห็นสิ่งที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายจากสารเคมีให้รีบแจ้ง เพื่อดำเนินการแก้ไขก่อนเกิดเหตุ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

      1. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556
      1. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับเรา

การทำงานในสถานที่อับอากาศ

แหล่งรวมบทความเกี่ยวกับโรงานอุตสาหกรรม ให้คุณได้ทราบความสำคัญของโรงานอุตสหกรรมในชีวิตประจำวันของคุณ

เรื่องล่าสุด

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by deveindus