Home อันตราย เรียนรู้ : วิธีการทำงานอย่าง ปลอดภัยในที่อับอากาศ ต้องทำยังไงบ้าง

เรียนรู้ : วิธีการทำงานอย่าง ปลอดภัยในที่อับอากาศ ต้องทำยังไงบ้าง

by admin
152 views
การทำงานในสถานที่อับอากาศ

การปฏิบัติตนเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยในที่อับอากาศ ต้องทำยังไงบ้าง

การทำงานเพื่อให้เกิด ความปลอดภัยในที่อับอากาศ เป็นเรื่องที่ควรตระหนักเป็นอย่างมาก การปฏิบัติงานในที่อับอากาศ เป็นงานที่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องมีหลายส่วนงานเข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง และสามารถเกิดอันตรายได้ตลอดเวลา ผู้ปฏิบัติงานจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ ข้อกำหนดของใบอนุญาตเข้าพื้นที่อับอากาศ และรวมถึงบทบบาทของนายจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานในที่อับอากาศเป็นไปอย่างปลอดภัย

ที่อับอากาศ-Confined-Spaces-หมายถึง

อันตรายในพื้นที่อับอากาศ Confined Spaces

อันตรายในพื้นที่อับอากาศสามารถเกิดขึ้นได้ในพื้นที่จำกัด ตัวอย่างของอันตรายในที่อับอากาศบางส่วน ได้แก่

  • หายใจไม่ออก (เนื่องจากขาดออกซิเจน)
  • ไฟไหม้และการระเบิด (โดยก๊าซและไอระเหยที่ติดไฟได้)
  • ความเป็นพิษ (โดยก๊าซพิษ ไอระเหย หรือฟูม)
  • การตกจากที่สูง (ช่องเปิด , นั่งร้าน)

นอกจากอันตรายตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ยังอาจมีอันตรายอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ในบางครั้งการทำงานในที่อับอากาศ เช่น งานเชื่อม อาจทำให้สภาพภายในที่อับอากาศมีอันตรายมากขึ้นจากเดิม ผู้ปฏิบัติงานจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความชำนาญ ในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย

อันตรายในที่อับอากาศ

ทำไมงานอับอากาศถึงมีอันตรายมากกว่างานอื่นๆ

การทำงานในที่อับอากาศนั้นอันตรายมากกว่างานอื่นๆเพราะว่า

  • มีทางเข้าหรือทางออกของพื้นที่คับแคบ อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถอพยพได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีน้ำท่วมหรือการพังทลายของวัสดุ
  • การช่วยเหลือตัวเองสามารถทำได้ยาก
  • การช่วยเหลือผู้ประสบภัยสามารถทำได้ยาก
  • การระบายอากาศตามธรรมชาติมักไม่เพียงพอที่จะรักษาคุณภาพอากาศภายในได้
  • สภาพพื้นที่มีความจำกัด สามารถเปลี่ยนแปลงภายในได้อย่างรวดเร็ว
  • พื้นที่ภายนอกสามารถส่งผลต่อพื้นที่ภายในที่อับอากาศได้
  • กิจกรรมการทำงานอาจทำให้มีอันตรายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มีอยู่แต่แรกแต่เกิดจากการทำงาน

เนื่องจากงานอับอากาศเป็นงานที่มีอันตรายมากกว่างานอื่น จึงจำเป็นต้องมีระบบการขออนุญาตเข้า ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

Confined-spaces-work-permit

ใบอนุญาตเข้าพื้นที่อับอากาศ Work permit

ใบอนุญาตเข้าพื้นที่อับอากาศ ต้องมีการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าองค์ประกอบทั้งหมดของระบบการทำงานในที่อับอากาศ มีความปลอดภัย ก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ ซึ่งในใบอนุญาตควรกล่าวถึง

  • การระบุรายละเอียดและตำแหน่งของที่อับอากาศ
  • วัตถุประสงค์ของการเข้าไปในที่อับอากาศ
  • วัน เวลา และระยะเวลาการเข้าไปในพื้นที่อับอากาศ
  • อันตรายที่อาจเกิดขึ้นและมาตรการควบคุม
  • อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  • ข้อควรระวังอื่นๆ เช่น สิ่งกีดขวาง , ป้ายบอกทาง
  • แผนตอบสนองกรณีฉุกเฉิน
  • ชื่อผู้ดูแลพื้นที่อับอากาศ
  • ผลการทดสอบบรรยากาศ (ของพื้นที่อับอากาศ)
  • ชื่อและลายเซ็นของหัวหน้างาน ผู้ประเมินความปลอดภัยในที่อับอากาศ และผู้จัดการที่ได้รับมอบอำนาจ

จากหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้นที่ควรระบุอยู่ในใบอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศ อาจมีหัวข้ออื่นที่จำเป็น หรือที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน เพื่อให้ใบอนุญาตมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

บทบาทของนายจ้างในงานอับอากาศ

บทบาทของนายจ้างในงานอับอากาศ

งานอับอากาศ เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูง หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิตได้ ซึ่งหากมีผู้ปฏิบัติงานเสียชีวิต นายจ้างไม่สามารถที่ปฏิเสธความรับผิดชอบได้ โดยนายจ้างมีบทบาทในงานอับอากาศดังนี้

  • ประเมินความจำเป็นในการเข้าไปปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีทางเข้าและออกจากพื้นที่จำกัดอย่างปลอดภัย
  • จัดทำข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่อับอากาศให้กับบุคคลที่อาจได้รับอันตรายจากพื้นที่อับอากาศ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยสำหรับการเข้าสู่พื้นที่อับอากาศ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีแสงสว่างเพียงพอและเหมาะสมสำหรับการเข้าและทำงานในพื้นที่อับอากาศ
  • ปฏิบัติตามขั้นตอนและการควบคุมการเข้าไปในพื้นที่อับอากาศรวมถึงการทดสอบก๊าซในพื้นที่
  • จัดอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศให้กับผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดตามที่กฎหมายกำหนด
  • จัดทำแผนช่วยเหลือฉุกเฉินและจัดหาอุปกรณ์กู้ภัย
  • แต่งตั้งผู้ดูแลพื้นที่อับอากาศ

สรุป

การปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ผู้ปฏิบัติงาน และ ผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมที่อับอากาศ ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานอับอากาศ ได้แก่ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และตัวผู้ปฏิบัติงานเอง ผู้เกี่ยวข้องทุกคนต้องผ่านการอบรมตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้สามารถทำตามหน้าที่ของตนเองได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และไม่เพียงแต่ 4 ผู้นี้เท่านั้น ที่ต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง บุคคลอื่น เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หัวหน้างาน หรือแม้แต่ผู้บริหารเองหรือนายจ้างเอง ก็ต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง เพื่อให้การปฏิบัติงานในที่อับอากาศเป็นไปอย่างปลอดภัย และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับเรา

การทำงานในสถานที่อับอากาศ

แหล่งรวมบทความเกี่ยวกับโรงานอุตสาหกรรม ให้คุณได้ทราบความสำคัญของโรงานอุตสหกรรมในชีวิตประจำวันของคุณ

เรื่องล่าสุด

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by deveindus