Home ข่าว เซนซิวอร์ม หุ่นยนต์หนอนจิ๋ว สำหรับการตรวจสอบ และซ่อมแซมภายในเครื่องยนต์ไอพ่น

เซนซิวอร์ม หุ่นยนต์หนอนจิ๋ว สำหรับการตรวจสอบ และซ่อมแซมภายในเครื่องยนต์ไอพ่น

by admin
13 views
1.เซนซิวอร์ม

หุ่นยนต์เซนซิวอร์ม ของบริษัทจีอี แอโร่สเปซ (GE Aerospace) ได้รับการสาธิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นหุ่นยนต์รูปร่างคล้ายหนอนที่มีความสามารถในการตรวจสอบและซ่อมแซมเครื่องยนต์ไอพ่นของเครื่องบิน เป้าหมายหลักของเซนซิวอร์ม คือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการตรวจสอบภายในเครื่องยนต์

โดยเซนซิวอร์มถูกออกแบบมาในลักษณะหุ่นยนต์ผิวนุ่ม (soft robot)ให้สามารถเข้าถึงส่วนที่ลึกลงของเครื่องยนต์ไอพ่นของเครื่องบิน ได้โดยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงที่อาจเกิดขึ้นกับกล้องบอร์สโคป (borescopes) ทั่วไป

การตรวจสอบเครื่องยนต์ใช้กล้องบอร์สโคป (borescopes)

ส่งกล้องวิดีโอไปตรวจสอบภายใน แต่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความยืดหยุ่นและความลึกของการเข้าถึง ซึ่งเซนซิวอร์มถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตัวแทนของ GE กล่าวว่า มันจะช่วยมองหาปัญหาที่อาจส่งผลต่อเครื่องบิน ซึ่งก็จะลดโอกาสการหยุดทำงานของเครื่อง และในอนาคต เจ้าหุ่นยนต์หนอนตัวนี้ก็อาจสามารถซ่อมแซมเครื่องบินผ่านการควบคุมทางไกลได้ บริษัทเอาเจ้าเซนซิวอร์มในด้านวิศวกรรมการบินไปเปรียบเทียบว่าคล้ายกับหุ่นยนต์ผิวนุ่มที่ช่วยในการผ่าตัดของวงการแพทย์ที่ช่วยให้เกิดการแทรกแซงน้อย เช่นเดียวกับเจ้าหุ่นยนต์หนอนนี้ที่จะสามารถเข้าไปตรวจสอบเครื่องยนต์โดยไม่ต้องแยกชิ้นส่วนเครื่องยนต์

2.เซนซิวอร์ม

เซนซิวอร์ม เป็นหุ่นยนต์แบบควบคุมทางไกล

ซึ่งสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ข้ามชิ้นส่วนเครื่องยนต์ต่างๆ และสามารถตรวจจับและหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้อย่างอัตโนมัติ โดยสามารถเข้าไปยังส่วนที่อุปกรณ์อาจหยุดทำงานจากแรงโน้มถ่วง และยังสามารถวัดความหนาของแผงเคลือบกั้นความร้อนได้อีกด้วย ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือความสามารถในการตรวจจับกลิ่นการรั่วไหลของก๊าซ รวมถึงความสามารถในการดำเนินการตรวจจับอื่นๆ ที่กำลังพัฒนาอยู่ โดยเซนซิวอร์มจะส่งสภาพของชิ้นส่วนต่างๆ ผ่านสัญญาณวิดีโอสดและข้อมูลแบบเรียลไทม์

ทีมวิศวกรของ จีอีแอโร่สเปซ ได้ทำการพัฒนาเซนซิวอร์มนี้ร่วมกับมหาวิทยาลัยบิงแฮมตันในนิวยอร์ก และ UES, Inc. องค์กรในรัฐโอไฮโอที่มุ่งเน้นวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าของเซนซิวอร์มหรือกำหนดเวลาในการใช้งานอย่างเป็นทางการอีกต่อไป แต่ก็มุ่งหวังว่านวัตกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ในอนาคตให้กับอุตสาหกรรมการบินอย่างมาก

สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://news.trueid.net/detail/AEznGz1PO7OE

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับเรา

การทำงานในสถานที่อับอากาศ

แหล่งรวมบทความเกี่ยวกับโรงานอุตสาหกรรม ให้คุณได้ทราบความสำคัญของโรงานอุตสหกรรมในชีวิตประจำวันของคุณ

เรื่องล่าสุด

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by deveindus