Home พื้นฐาน รู้จักกับ แสงสว่าง มีประโยชน์ และ โทษอย่างไรบ้างในชีวิตประจำวัน

รู้จักกับ แสงสว่าง มีประโยชน์ และ โทษอย่างไรบ้างในชีวิตประจำวัน

by admin
2.8K views
แสงสว่างมีประโยชน์และโทษอย่างไร

รู้จักกับ แสงสว่าง และการป้องอันตรายจากจากแสงสว่าง

เมื่อพูดถึง แสงสว่าง ทุกคนคงเข้าใจว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร แต่เรารู้หรือไม่ว่าแสงสว่างนอกจากเป็นจัยจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ทั้งของมนุษย์ สัตว์ และพืช แล้ว แสงสว่างก็มีอันตรายด้วยเช่นกัน วันนี้เราจะมาพูดถึงแสงสว่างว่ามีอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง

ประโยชน์ของแสงสว่าง

แสงสว่างมีประโยชน์มากมาย นอกจากจะช่วยให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวแล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีก เช่น

  • ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น: แสงสว่างที่เพียงพอช่วยให้มองเห็นสิ่งรอบข้างได้ชัดเจนและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้
  • ลดความผิดพลาดในการทำงาน เนื่องจากแสงสว่างที่เพียงพอ
  • เสริมสร้างอารมณ์และประสิทธิภาพการทำงาน: การจัดแสงที่เหมาะสมช่วยด้านอารมณ์ ลดความเครียด 
  • เสริมสุนทรียภาพ: การจัดแสงสว่างเพื่อเน้นลักษณะทางสถาปัตยกรรม งานศิลปะ และองค์ประกอบอื่นๆ ในพื้นที่ทำให้ดึงดูดสายตา
  • ด้านความปลอดภัย: แสงสว่างที่เหมาะสมช่วยเพิ่มความปลอดภัยในพื้นที่และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับการมองเห็นผู้ปฏิบัติงาน

อันตรายจาก แสงสว่าง

อันตรายจากแสงสว่างเกิดขึ้นได้ทั้งจากแสงสว่างที่น้อยเกินไป และแสงจ้าหรือแสงสะท้อน ซึ่งทั้ง 2 ประเภท สามารถทำอันตรายกับดวงตาของผู้ปฏิบัติงานได้ ต่อไปนี้คืออันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้

อันตรายจากแสงสว่างที่น้อยเกินไป

  • ทัศนวิสัยการมองเห็นลดลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดเนื่องจากแสงสว่างเพียงพอ
  • ปวดตาและเมื่อยล้าจากการหรี่ตาหรือเพ่งมองในสภาพแสงสลัว
  • กล้ามเนื้อตาทำงานหนักมากเกินไป ทำให้ปวดตา มึนศีรษะ
  • ความยากลำบากในการทำงานที่ต้องใช้การมองเห็นอย่างแม่นยำ เช่น การอ่านหรือการทำงานที่มีรายละเอียด
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการสะดุดหรือล้มเนื่องจากทัศนวิสัยไม่ดีในสภาพแสงน้อย             
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ไฟฟ้าดับ
  • สภาพการทำงานที่ย่ำแย่ ส่งผลให้ผลผลิต ขวัญกำลังใจ และความพึงพอใจของพนักงานลดลง

อันตรายจากแสงจ้าหรือแสงสะท้อน

  • แสงจ้าทำให้ปวดตา เมื่อยล้า มึนศีรษะ จากการสัมผัสกับแหล่งกำเนิดแสงที่สว่างจ้าเกินไป
  • กล้ามเนื้อตากระตุก วิงเวียน นอนไม่หลับ 
  • การมองเห็นแย่ลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือข้อผิดพลาดเนื่องจากแสงสะท้อน
  • ความลำบากในการทำงานที่ต้องใช้การมองเห็นอย่างแม่นยำ เช่น การอ่านหรือการทำงานที่มีรายละเอียด 
  • ก่อให้เกิดผลทางจิตใจ เช่น เบื่อหน่ายในการทำงาน เนื่องจากแสงจ้าหรือแสงสะท้อน
  • รู้สึกไม่สบายหรือปวดตา ปวดศีรษะ และอาการอื่นๆ เนื่องจากแสงจ้าหรือแสงสะท้อน
  • ลดความสามารถในการมองเห็นในที่มืดหรือในที่แสงน้อยลดลงหลังจากมองแสงจ้า

แสงชนิดต่างๆ

นอกจากอันตรายจากแสงสว่างที่กล่าวข้างต้น ยังมีอันตรายจากแสงชนิดอื่น เช่น

  • อันตรายจากแสงเหนือม่วง ทำให้นัยน์ตาอักเสบ ตาแดง เยื่อบุตาในชั้นตาดำถูกทำลาย ทำให้ขุ่นมองเห็นไม่ชัด พบได้ในงานเชื่อมโลหะ การฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงเหนือม่วง งานก่อสร้างกลางแจ้ง งานถนอมอาหาร
  • อันตรายจากแสงใต้แดง ส่งผลให้เกิดภาวะต้อกระจกจากความร้อน และอาจทำให้เซลล์ของเรติน่าตายได้ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ชัด พบได้ในงานอุตสาหกรรมแก้ว งานหลอมโลหะ งานเชื่อมชนิดต่างๆ และงานอบสี
  • อันตรายจากแสงในช่วงคลื่นของความถี่วิทยุโทรทัศน์ จะทำอันตรายต่อเลนส์ของนัยตามากที่สุด  ทำให้เซลล์ของนัยน์ตาเกิดการขุ่นมัวได้เร็วและทำให้เป็นตาต้อได้

ลักษณะของแสงสว่างที่ควรหลีกเลี่ยง

  • การเกิดแสงจ้า คือ จุดที่มีแสงจ้าเกิดขึ้นในระยะของลานสายตา ทำให้รู้สึกสว่างมากเกินกว่าที่ตาจะปรับได้ ซึ่งแสงจ้ามี 2 ชนิด คือ แสงจ้าโดยตรง และแสงจ้าจากการสะท้อน
  • การเกิดเงา เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน บริเวณที่มีเงามืดบนพื้นผิวของชิ้นงาน ทำให้การทำงานลำบาก มองเห็นไม่ชัด เมื่อยตา และอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

การป้องกันอันตรายจากแสงสว่าง

การป้องกันอันตรายจากแสงสว่างมีหลายวิธี ที่สำคัญคือต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพการทำงานและพื้นที่ ต่อไปนี้เป็นวิธีการป้องกันอันตรายจากแสงสว่าง

  • เลือกระบบแสงสว่างและแหล่งกำเนิดแสงสว่างที่เหมาะสม
  • การออกแบบลักษณะของพื้นที่ทำงานรวมถึงการดูแลรักษาระบบแสงสว่าง
  • งานที่มีแสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกําเนิดแสงหรือดวงอาทิตย์ที่มีแสงจ้าส่องเข้านัยน์ตาโดยตรง ให้สวมใส่แว่นตาลดแสงหรือกระบังหน้าลดแสง
  • งานที่ทําในสถานที่มืด ทึบ และคับแคบ ให้สวมใส่หมวกนิรภัยที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่าง
  • การใช้อุปกรณ์กันแสงหน้าจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดแสงสะท้อนและความเมื่อยล้าของดวงตา
  • การติดตั้งวัสดุปิดหน้าต่าง เช่น มู่ลี่หรือผ้าม่าน เพื่อลดปริมาณแสงที่เข้าสู่พื้นที่การทำงาน
  • พักสมองและพักสายตาเมื่อต้องทำงานในพื้นที่ที่มีแสงจ้าหรือจ้องหน้าจอนานๆ
  • การออกแบบตำแหน่งการติดตั้งแสงสว่างให้เหมาะสมกับพื้นที่การทำงาน
  • หากแสงสว่างน้อยเกินไป ให้ติดตั้งเพิ่มเติม หรือใช้วิธีส่องสว่างเฉพาะจุด
  • การปรับตำแหน่งพื้นที่การทำงานให้เหมาะสมกับแสงสว่างในกรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนจุดติดตั้งแสงสว่างได้

การป้องกันอันตรายจากแสงสว่าง มีหลายวิธี ที่สำคัญคือต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมกับพื้นที่และลักษณะของงานที่ทำ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสบายทั้งกายและจิตใจ แต่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานเป็นหลัก

สรุป

อันตรายที่เกิดจากแสงสว่างนอกจากทำให้เกิดความไม่สบายใจ ยังส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เกิดความเมื่อยล้าตา หรืออาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากการมองเห็นที่ไม่ดี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องควบคุมดูแลระบบแสงสว่างให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับเรา

การทำงานในสถานที่อับอากาศ

แหล่งรวมบทความเกี่ยวกับโรงานอุตสาหกรรม ให้คุณได้ทราบความสำคัญของโรงานอุตสหกรรมในชีวิตประจำวันของคุณ

เรื่องล่าสุด

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by deveindus